เรียนภาษาไปกับบทความ : 6 Facts You May Not Know About Loneliness

1319

1. ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม (social isolation) และความเหงา (loneliness) นั้นแตกต่างกัน

ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมคือความโดดเดี่ยวที่เกิดขึ้นเมื่อคุณไม่มีใครให้คุยหรือปรึกษาเนื่องจากคุณมีคนที่สนิทด้วยน้อยหรือแทบไม่มี ในขณะที่ความเหงาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในโดยไม่มีปัจจัยเกี่ยวข้องกับผู้คนรอบตัว คุณอาจจะอยู่กับครอบครัวที่อบอุ่นแต่ก็ยังรู้สึกเหงาได้


2. การเข้าสังคมมีความสำคัญเทียบเท่ากับการทานอาหาร

ผลจากการตรวจคลื่นสมองด้วยเครื่องสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scans) สมองที่รับผิดชอบต่อการจัดการความหิวและความเหงานั้นอยู่ส่วนเดียวกัน! การปลีกตัวออกจากผู้คนจะทำให้คุณกระหายที่จะพบปะพูดคุยกับผู้อื่นเฉกเช่นกับการอดอาหารที่ทำให้คุณหิวโหยและพร้อมจะกินทุกอย่างที่ขวงหน้า ด้วยเหตุนี้การเข้าสังคมจึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับการกินและการดื่มสำหรับมนุษย์

.

3. การอาบน้ำอุ่นทดแทนความอบอุ่นจากการโอบกอดได้ 

หากคุณกำลังเผชิญกับความเหงา การทำให้ร่างกายอบอุ่น เช่น การอาบน้ำอุ่นให้นานขึ้นกว่าปกติ การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร้อน ๆ อาจช่วยบรรเทาความเหงาของคุณลงได้


4. การดู TV ช่วยให้ผู้คนเชื่อมโยงถึงกัน

โทรทัศน์หรือ TV เป็นมากกว่าสิ่งให้ความบรรเทิงเมื่อเหงาหรือต้องกักตัวออกห่างจากคนอื่น เพราะการดู TV ช่วยให้ (โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) เรารู้สึกเชื่อมโยงกับสถานการณ์และผู้คนภายนอก นอกจากนี้การดู TV ยังช่วยเพื่อความตระหนักรับรู้ข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ  ซึ่งช่วยในการเพิ่มหัวข้อในการสนทนากับคนอื่น ๆ ได้ เช่น ประเด็นการเสียชีวิตของดาราสาวท่านหนึ่ง และการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เป็นต้น ประเด็นข่าวที่ได้รับการพูดถึงเหล่านี้ ช่วยให้การสนทนาระหว่างบุคคลเชื่อมโยงได้ง่ายขึ้น   


5. ความเหงาสามารถส่งต่อกันได้ 

การแสดงออกที่แย่ ๆ ของคนที่กำลังเผชิญกับความเหงาสามารถสร้างผลกระทบทางด้านอารมณ์ให้กับคนรอบตัวได้ ซึ่งผลกระทบนั้นอาจเป็นการปฏิเสธต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หรือการแยกตัวออกจากสังคมภายนอก โดยการวิจัยพบว่าคนที่กำลังเผชิญกับความเหงามักเป็นบุคคลที่มีความสนิทชิดเชื้อกับคนที่มักเหงาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และได้รับส่งทอดความเหงาต่อมาจากบุคคลนั้นคล้ายกับการติดโรค


6. การเปลี่ยนแปลงทัศนคติเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหยุดความเหงา 

นอกจากการเข้าสังคมที่คุณจะได้รับการช่วยเหลือและการสนับสนุนให้ก้าวข้ามผ่านความเหงาแล้ว การเปลี่ยนแปลงทัศนคติยังมีส่วนช่วยอย่างมากในการหยุดความเหงา เพราะทัศนคติที่แย่ เช่น การคิดว่าคนรอบข้างไม่มีใครอยากรับฟัง หรือการคิดว่าตัวเองไม่มีความสำคัญอะไรกับผู้อื่น จะทำให้คุณดำดิ่งอยู่ในห้วงความเหงาถึงแม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือหรือกำลังใจจากผู้คนก็ตาม ฉะนั้นทัศนคติที่ดีจึงมีความสำคัญมาก  


Vocabulary

(n) การแยกตัว, การปลีกตัว = isolation

(n) ภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม = social isolation 

(n) ความเหงา = loneliness 

(adj) ติดต่อกันได้ = contagious

(v) แพร่กระจาย = spread  

(v) เข้าสังคม = socialize  

(v) เอาชนะ = overcome

Share
.