รู้หรือไม่ว่าสงกรานต์ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย

1212
songkran thailand

ถ้าจะพูดถึงเรื่องสงกรานต์ เราจะบอกว่ามันมีแค่ประเทศไทยก็คงจะไม่ใช่  เพราะจริงๆแล้ววันสงกรานต์เนี่ย มีจัดขึ้นแต่ดั้งเดิมในหลายประเทศ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย เอาแบบใกล้เคียงกับเรามากที่สุดก็คงจะเป็นประเทศ ลาว เขมร มอญ พม่า รวมไปถึงศรีลังกา 

แล้วคำว่าสงกรานต์มาจากอะไร ?

สงกรานต์ (Songkran) เป็นศัพท์ที่รับมาจากภาษาสันสกฤต meṣa saṅkrānti (เมซ่า สันกรานติ) ที่มีความหมายว่า “เคลื่อนหรือขยับไปข้างหน้า”  สงกรานต์เชื่อมโยงกับประเพณีการเฉลิมฉลองปีใหม่ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ศรีลังกา เขตปกครองตนเองสิบสองปันนาของประเทศจีน และบางพื้นที่ของอินเดีย และเวียดนาม โดยประเพณีสงกรานต์เริ่มเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวออกจากราศีมีนเข้าสู่ราษีเมษ ซึ่งถือเป็นราษีแรกของจักรราศีตามหลักโหราศาสตร์

.

อย่างที่ทราบกันดีว่าในประเทศไทยสงกรานต์จะตรงกับวันที่ 13 – 15 เมษายน ของทุกปี แต่ทราบกันหรือไม่ว่าประเพณีการเฉลิมฉลองปีใหม่โบราณในแต่ละประเทศจัดขึ้นวันไหน และมีการสาดน้ำคล้ายสงกรานต์ของไทยบ้าง มาดูกัน

1. ประเทศลาว

มาเริ่มกันที่ประเพณีสงกรานต์ของประเทศลาวที่มีชื่อเรียกว่า Pi Mai (ปีใหม่) เทศกาลปีใหม่ของลาวจะจัดขึ้นวันที่ 13 หรือ 14 จนถึงวันที่ 15 หรือ 16 เมษายน ของทุกปี โดยการสาดน้ำของประเพณีปีใหม่ก็จะคล้ายคลึงกับสงกรานต์ของประเทศไทย เพียงแต่ปีใหม่ของลาวนิยมใช้น้ำลอยดอกไม้ใส่น้ำอบสาดโดยใช้ขัน ซึ่งก็ให้ความรู้สึกอ่อนโยนและหอมหวนดอกไม้ไปทั่ว 


2.ประเทศกัมพูชา

ต่อกันที่ประเพณี Choul Chnam Thmey (โชล นาม ทะเมย) ที่เป็นประเพณีฉลองปีใหม่ของประเทศกัมพูชา จัดขึ้นวันที่ 13 หรือ 14 จนถึงวันที่ 16 เมษายนของทุกปี โดยการสาดน้ำของประเพณีโชล นาม ทะเมย ก็จะคล้ายกับประเพณีปีใหม่ของลาวที่จะหนุ่มสาวจะใช้ขันสาดน้ำใส่กัน


3.ประเทศเมียนมาร์

ต่อกันที่ประเพณี Choul Chnam Thmey (โชล นาม ทะเมย) ที่เป็นประเพณีฉลองปีใหม่ของประเทศกัมพูชา
จัดขึ้น ประเทศถัดมาคือประเทศเมียนมาร์ สงกรานต์ในเมียนมาร์มีชื่อเรียกว่า Thingyan (ทิงยาน) จัดขึ้นวันที่ 13 – 16 เมษายน ของทุกปี โดยการสาดน้ำของทิงยานก็เช่นเดียวกับสงกรานต์ในไทย ลาว และกัมพูชา


4.ประเทศศรีลังกา

ถัดมาคือประเพณี Aluth Avurudda (อะรุดตา วะรุดตะดา) ที่เป็นประเพณีเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวสิงหลและทมิฬในประเทศศรีลังกา จัดขึ้นวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี แต่ที่แตกต่างคือจะไม่มีการสาดน้ำอย่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้น แต่ผู้คนจะทำการตักน้ำขึ้นจากบ่อน้ำ และเก็บกวาดล้างบ้านเรือนตามประเพณีนิยมซึ่งเชื่อว่าเป็นการนำพาความอุดมสมบูรณ์เข้ามา และปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากบ้านที่อยู่อาศัย


5.ประเทศอินเดีย

ABVP Arunachal Prades

 ต่อมาคือประเพณี Sangken (ซังเก็น) ของอรุณาจัลประเทศและบางส่วนของรัฐอัสสัมประเทศอินเดีย ซึ่งประเพณีฉลองวันปีใหม่นี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 16 เมษายน โดยการสาดน้ำในเทศกาลซังเก็นก็จะคล้ายๆกับการสาดน้ำของประเทศลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ แต่ภาชนะที่ใช้ใส่น้ำที่นิยมใช้คือถังพลาสติกเล็ก ๆ ไม่ใช่ขันเงินอย่างประเทศลาว หรือกัมพูชา


6.ประเทศจีน

  สุดท้ายคือประเพณี Shangkran or Shangjian (ชาง เคอะยาน/ชางเจียน) ของชาวไทในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มลรัฐยูนนาน ประเทศจีน ประเพณีเฉลิมฉลองปีใหม่ชางเจียนจะจัดขึ้นวันที่ราววันที่ 13 – 15 เมษายน ของทุกปี โดยชาวไทนิยมเล่นสาดน้ำโดยใช้ถังเล็ก ๆ หรือชามอ่าง ตักน้ำจากแม่น้ำลำคลองสาดใส่กัน


Share
.