ฉันจะหยุดการลืมสิ่งที่เพิ่งเรียนรู้ ได้อย่างไร

1382


คุณจะอ่านหนังสือและบล็อกต่างๆไปเพื่ออะไร ในเมื่อคุณมักจะลืมสิ่งที่เพิ่งได้อ่านไปภายในไม่กี่ชั่วโมง?

ฉันนั่งอยู่ในร้านกาแฟสองชั่วโมง อ่านบล็อกต่างๆนับไม่ถ้วนใน Medium.com และตระหนักว่า ฉันสามารถจำแนวคิดและบทเรียนที่ฉันเพิ่งอ่านมาทั้งหมด ได้แค่สองหรือสามเรื่องเท่านั้น

.

ความจำเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ฉันพยายามอ่านหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ฉันก็แทบจะไม่สามารถบอกแนวคิดหลักหรือพล็อตเรื่องในหนังสือที่ฉันอ่านให้คุณฟังได้เลย นักศึกษาหลายคนในวิทยาลัยก็มีปัญหาเช่นเดียวกับฉัน

พวกเขาใช้เวลาทั้งเทอมในการเรียนวิชาต่างๆและใช้เวลาหลายชั่วโมงเรียนรู้เนื้อหา เพียงเพื่อที่จะพบว่าตัวเองลืมเนื้อหาเหล่านั้นภายไม่กี่ชั่วโมงหลังจากสอบเสร็จ
.
.
.

Hermann Ebbinghaus นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน เป็นผู้ค้นพบสิ่งที่เรียกว่า ช่วงแห่งการลืมเลือน ซึ่งเป็นแนวคิดในสมมติฐานแห่งการลดลงของการเก็บรักษาความจำแต่ละช่วงเวลา

เส้นโค้งในกราฟจะทำมุมแคบที่สุดในช่วงวันแรก ดังนั้น หากคุณไม่ทบทวนสิ่งที่คุณได้เรียนรู้ครั้งล่าสุด คุณมีแนวโน้มที่จะลืมเนื้อหาส่วนใหญ่และความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก็จะยิ่งลดลงในวันถัดไป  ท้ายที่สุดแล้ว คุณจะเหลือข้อมูลอยู่ในสมองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
.
.
.

บทความเรื่อง ทำไมเราถึงลืมหนังสือส่วนใหญ่ที่เราอ่าน ในเว็บไซท์ The Atlantic ได้กล่าวถึงประเด็นที่การใช้อินเตอร์เน็ทมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อความทรงจำของเราในทางลบ

สันนิษฐานได้ว่า ความจำมักจะเป็นเช่นนี้เสมอ แต่จาเร็ด ฮอร์วัธ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า วิธีที่ผู้คนบริโภคข้อมูลและสื่อบันเทิงในยุคนี้ ได้เปลี่ยนลักษณะของความทรงจำที่เราให้ความสำคัญ ซึ่งไม่ได้เป็นไปในลักษณะที่ช่วยให้คุณสามารถจำพล็อตเรื่องของภาพยนตร์ที่คุณรับชมไปเมื่อหกเดือนก่อนได้

ในยุคอินเทอร์เน็ต การขุดคุ้ยความทรงจำ ซึ่งเป็นความสามารถในการระลึกถึงข้อมูลในจิตใจของคุณ กลายมาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นน้อยลง มันยังทำงานได้ดีสำหรับการจดจำเหตุการณ์พิเศษหรือรายการสิ่งที่คุณต้องทำ  แต่ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งที่เราเรียกว่า ความจำด้านการรับรู้ จะมีความสำคัญมากกว่า ฮอร์วัธกล่าวว่า “ตราบใดที่คุณทราบว่าข้อมูลนั้นอยู่ที่ไหนและจะเข้าถึงมันได้อย่างไร คุณก็ไม่จำเป็นต้องพยายามระลึกถึงมัน”

.
.
.
เราใช้อินเทอร์เน็ตเสมือนเป็นฮาร์ดไดรฟ์สำหรับความจำของเรา เรารู้ว่าหากเราต้องการทราบข้อมูลใด เราก็สามารถเปิดแล็ปท็อปเพื่อค้นหาได้ทันที
การเรียนรู้แบบเฉพาะหน้าได้กลายมาเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมันมีประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลที่คุณต้องการได้ทันที แทนที่จะจดจำข้อมูลที่ อาจ เป็นประโยชน์ในอนาคต ความรู้แบบลึกซึ้งนั้นไม่มีคุณค่าอีกต่อไป เพราะข้อมูลทั่วไปที่เราสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ทำให้งานของเราสำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
.
.
.

การที่เรามีหน่วยความจำภายนอกมาช่วย ทำให้เราใช้ความพยายามน้อยลงในการจดจำและพยายามทำความเข้าใจแนวคิดและสิ่งที่เราได้เรียนรู้

การวิจัยพบว่า อินเทอร์เน็ตทำหน้าที่เป็นเสมือนหน่วยความจำภายนอก หนึ่งในการศึกษาวิจัยระบุว่า “เมื่อผู้คนคาดว่า ตนเองจะสามารถเข้าถึงข้อมูลในอนาคตได้ อัตราการใช้ความจำก็ลดลง” อย่างไรก็ดี ก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะถือกำเนิดขึ้นมา ผลิตภัณฑ์ด้านสื่อบันเทิงก็ทำหน้าที่เป็นเสมือนความทรงจำภายนอกในตัวมันเองอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องจำข้อความใดๆจากหนังสือที่อ่าน ในเมื่อคุณสามารถค้นหามันได้ตลอดเวลา เมื่อวิดีโอเทปเข้ามามีบทบาท คุณสามารถย้อนกลับไปดูภาพยนตร์หรือรายการทีวีได้อย่างง่ายดาย โดยปราศจากความรู้สึกที่ว่า หากคุณไม่ทำการรำลึกถึงวัฒนธรรมบางอย่างไว้ในสมองของคุณ มันจะเลือนหายไปตลอดกาล


นอกจากนี้ เรายังมีแนวโน้มที่จะรับชมสื่อต่างๆแบบต่อเนื่องได้อย่างง่ายดาย คุณเคยดื่มด่ำกับการดูรายการทีวีที่โปรดปรานอยู่ที่บ้านตลอดทั้งคืนวันเสาร์หรือไม่? คุณสามารถจำเนื้อหาในแต่ละตอนได้หรือไม่? คุณสามารถจำประเด็นที่ขัดแย้งและวิธีแก้ปัญหาได้หรือไม่?
.
.
.

การกระหน่ำดูรายการทีวีเป็นการส่งเสริมให้คุณยิ่งบริโภคเนื้อหาอย่างไร้ความใส่ใจ แทนที่จะใส่ใจกับสื่อเหล่านั้น เรากลับได้รับการกระตุ้นให้เน้นปริมาณในการบริโภคสื่อ แม้กระทั่งเมื่อสมองของเราส่งสัญญาณเตือนว่า มันจวนจะรับไม่ไหวแล้ว

มันเป็นความจริงที่ว่า ผู้คนมักจะยัดเยียดสื่อต่างๆ เข้าไปในสมองมากเกินกว่าที่มันจะรับไหว เมื่อปีที่แล้ว ฮอร์วัธและทีมงานของเขาที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น พบว่า คนที่ดูรายการโทรทัศน์ติดๆกันหลายตอนในรวดเดียว มักจะลืมเนื้อหาเร็วกว่าคนที่ดูหนึ่งตอนต่อสัปดาห์ จากการทดสอบหลังจากที่ดูจบ คนที่ดูรายการโทรทัศน์ติดๆกันหลายตอนในรวดเดียวสามารถตอบคำถามในแบบทดสอบได้ดีกว่า แต่หลังจากผ่านไป 140 วัน พวกเขาทำคะแนนได้ต่ำกว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเดียวกันแบบสัปดาห์ละหนึ่งตอน ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า พวกเขาเพลิดเพลินกับการรับชมรายการดังกล่าวน้อยกว่ากลุ่มคนที่ดูวันละหนึ่งตอนหรือสัปดาห์ละหนึ่งตอน

ผู้คนสมัยนี้ต่างก็นิยมการอ่านแบบรวดเดียวเช่นกัน ในปี 2009 ชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยเข้าถึงข้อเขียนประมาณ 100,000 คำต่อวัน แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้อ่านทุกถ้อยคำก็ตาม มันยากที่จะจินตนาการว่า ตัวเลขดังกล่าวลดลงภายในระยะเวลาเก้าปีนับตั้งแต่นั้นมา ในบทความเรื่อง “Binge-Reading Disorder” ของหนังสือพิมพ์ The Morning News นิกิธา บัคชานี ได้วิเคราะห์ความหมายของสถิติดังกล่าวว่า “การอ่านเป็นคำที่มีความหมายแบบกว้างๆ ประเภทของการอ่านที่พบบ่อยที่สุดน่าจะเป็นการอ่านในเชิงบริโภค ซึ่งเราอ่านเพียงเพื่อค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต มันเป็นข้อมูลที่ไม่ได้กลายมาเป็นความรู้ เว้นเสียแต่ว่าเราจะ ‘จดจำ’ มัน”


หรืออย่างที่ฮอร์วัธกล่าวไว้ว่า “มันเป็นเสมือนการหัวร่อเพียงชั่วขณะ ซึ่งทำให้คุณต้องการหัวร่อต่อไปอีก มันไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้อะไรเลย มันเกี่ยวกับการได้รับประสบการณ์ชั่วขณะที่รู้สึกราวกับว่าคุณได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง”


เราไม่ได้อ่านเพื่อเรียนรู้จริงๆ เราแค่รู้สึกไปเองว่าเรากำลังเรียนรู้บางสิ่งจากการอ่านและ จดจำคำศัพท์บนหน้าจอ ข้อมูลเหล่านั้นยังไม่ได้กลายมาเป็นความรู้ แต่เราถูกหลอกให้เชื่อว่ามันถูกถ่ายโอนเข้าไปยังสมองของเราและจะอยู่ที่นั่นตลอดไป
.
.
.

การเรียนรู้แบบมีมิติและคำถาม

เราจะจดจำสิ่งที่เราเรียนรู้ได้อย่างไร? คุณต้องให้เวลาในการย่อยข้อมูลแก่ตัวเอง

 สิ่งที่เขาค้นพบจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการดูทีวีแบบรวดเดียวจบ คือ หากคุณต้องการที่จะจดจำสิ่งที่คุณดูและอ่าน คุณต้องเว้นช่วง ฮอร์วัธกล่าวว่า “ผมเคยหงุดหงิดสมัยที่เรียนในโรงเรียน ซึ่งหลักสูตรภาษาอังกฤษออกแบบมาให้เราอ่านเพียงสามบทต่อสัปดาห์ แต่มันก็มีเหตุผลที่ดี ยิ่งเราทบทวนมากเท่าไร ความจำก็ได้รับการกระตุ้นมากเท่านั้น” สมมติว่าคุณอ่านหนังสือทั้งเล่มในคราวเดียวขณะที่อยู่บนเครื่องบินให้พูด นั่นเป็นเพียงแค่การรับรู้เรื่องราวในสมองของคุณเท่านั้น “คุณจะไม่สามารถระลึกถึงมันได้อีก” เขากล่าว


จงพยายามหมั่นทบทวนข้อมูลที่คุณต้องการเก็บไว้ในความทรงจำ ฉันได้ตระหนักว่า เมื่อฉันเรียนรู้สิ่งที่น่าสนใจและเขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ฉันสามารถระลึกถึงมันได้ง่ายกว่าการพยายามที่จะจำบางสิ่งที่ฉันเรียนรู้แบบผ่านๆ จากการอ่านหนังสือหรือบทความ
.
.
.

ซาน่าระบุว่า บ่อยครั้งที่เราอ่าน เรามักจะ “รู้สึกชำนาญ” แบบหลอกๆ ข้อมูลต่างๆหลั่งไหลเข้ามา เราเข้าใจมัน และดูเหมือนว่ามันจะเรียบเรียงตัวเองเป็นเสมือนหนังสือเล่มหนึ่งที่เก็บไว้บนชั้นวางหนังสือในสมองของเรา  “แต่จริงๆแล้ว มันไม่ได้ติดอยู่ในสมองจนกว่าคุณจะใช้ความพยายามและมีสมาธิและใช้กลยุทธ์บางอย่างในการจำ”

บางคนอาจทำเช่นนั้นเมื่อพวกเขาอ่านหนังสือเพื่อเข้าสอบหรือทำงาน แต่ดูเหมือนว่า มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเวลาที่พวกเขาอ่านนิตยสารยามว่าง “คุณสามารถมองเห็นและได้ยิน แต่คุณอาจไม่ได้สังเกตและตั้งใจฟัง” ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันคิดว่าเกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่” ซาน่ากล่าว

หากคุณกำลังอ่านหนังสือสอบหรือพยายามเรียนรู้สูตร/แนวคิดที่ซับซ้อน จงหมั่นกลับมาทบทวนเนื้อหา ทุกครั้งที่คุณทบทวนวิชาที่คุณกำลังพยายามเรียนรู้ มันจะยิ่งช่วยให้ข้อมูลฝังแน่นเข้าไปในความทรงจำระยะยาวของคุณ


ให้เวลากับตัวเองสักสองสามชั่วโมงแล้วลองพยายามระลึกถึงบทเรียน โดยไม่ต้องเปิดหนังสือดู หากสมองของคุณติดขัด ให้อ่านสูตร/แนวคิดดังกล่าวอีกรอบ แล้วลองเว้นช่วงอีกสองสามชั่วโมงก่อนที่จะพยายามระลึกถึงเนื้อหาเหล่านั้นอีกครั้ง

ยิ่งคุณฝึกฝนแบบนี้มากเท่าไร โอกาสที่คุณจะจดจำและระลึกถึงมันได้ในอนาคต ก็ยิ่งมากขึ้น
.
.
.

สก็อต เอช ยัง เป็นบล็อกเกอร์ที่ท้าทายตัวเองให้ค้นหาคำตอบของคำถามที่ว่า “วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้คืออะไร” เขาเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินชีวิตที่ดีและได้แก้ปัญหาการลืมในสิ่งที่ตนเองอ่าน โดยนำเสนอทางออกที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อเราอ่านหนังสือ เรามักไม่ได้จดจ่ออยู่กับเนื้อหา เราเพียงทอดสายตาไปยังคำศัพท์ต่างๆ และใช้เวลาและพลังงานส่วนใหญ่ไปกับการรับรู้สิ่งที่อยู่ในเนื้อหา
.
.
.

น่าเสียดายที่การรับรู้สิ่งที่อยู่ในเนื้อหาเป็นสิ่งเดียวที่คนส่วนใหญ่ทำเมื่อพวกเขาอ่านหนังสือ เมื่อคุณอ่านหนังสือ เวลาส่วนใหญ่ของคุณจะถูกใช้ไปในการรับรู้สิ่งที่อยู่ในเนื้อหา คุณแทบจะไม่ได้จดจำไอเดียใดๆเลย หากคุณอ่านหนังสือที่ได้รับการเขียนเป็นอย่างดี คุณอาจไม่ต้องนึกคิดอะไรมากนัก เพราะนักเขียนที่ดีรู้ว่า การระลึกเนื้อหาเป็นสิ่งที่ยาก ดังนั้น พวกเขามักจะย้ำประเด็นที่เขียนไว้ก่อนหน้าอยู่เสมอ เพื่อที่ผู้อ่านจะได้ไม่สับสน

จากนั้น หลังจากที่คุณอ่านหนังสือ คุณมักต้องการให้มันเปลี่ยนไปเป็นความรู้ที่นำออกมาใช้ได้ทันที คุณมักต้องการที่จะสามารถดึงข้อมูลที่คุณได้รับรู้จากการอ่าน เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์บางอย่าง เช่น ในการสนทนากับเพื่อนร่วมงาน การทำข้อสอบ หรือการตัดสินใจในบางเรื่อง

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถระลึกถึงเนื้อหาจากหนังสือที่พวกเขาอ่านได้มากสักเท่าไร

มันไร้เหตุผลที่จะคาดหวังให้ผู้อ่านจดจำทุกคำศัพท์และไอเดียที่อยู่ในหนังสือ ความจำของเราเป็นสิ่งที่สามารถผิดพลาดได้ แต่พวกเราหลายคนกลับรู้สึกท้อแท้ เมื่อพบว่าตัวเองลืมเนื้อหาและแนวคิดหลายอย่างทันทีที่เราอ่านจบ
.
.
.

สก็อต ยัง ได้นำเสนอวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า กลยุทธ์สมุดคำถาม

เมื่อใดก็ตามที่คุณกำลังอ่านสิ่งที่คุณต้องการจดจำ ให้ทำการจดบันทึก แต่อย่าจดบันทึกใจความสำคัญที่คุณต้องการจะจำ ให้จดบันทึกในรูปแบบคำถามแทน

สมมติว่า คุณต้องการใช้กลยุทธ์ดังกล่าวกับบทความนี้ คุณอาจจะเขียนคำถามว่า “Q: กระบวนการจดจำ 2 ประเภทที่แตกต่างกัน คืออะไร” และคำตอบคือ “A: การระลึกและการรับรู้”

จากนั้น เมื่อคุณอ่านหนังสือ ให้รีบอ่านและทดสอบตัวเองด้วยคำถามที่คุณตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้ การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการระลึกความจำให้กับคุณ เพื่อให้คุณเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นเมื่อคุณต้องการ
.
.
.

แทนที่จะจดบันทึกหรือเรียบเรียงคำพูดของผู้เขียนเป็นคำพูดของคุณเอง ให้ถามคำถามตัวเองเพื่อที่จะช่วยให้คุณฝึกจดจำข้อมูล

ในตอนท้ายของแต่ละบท คุณอาจลองถามคำถามตัวเองเพื่อที่จะสรุปแนวคิดหลักหรือแนวคิดสำคัญที่คุณต้องการจำ

เขายังแนะนำเคล็ดลับอันเป็นประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อให้การฝึกฝนเช่นนี้ นำไปปฏิบัติได้จริงอีกด้วย
.
.
.

เขารู้ว่า บางคนอาจจะพยายามทดสอบตัวเองในแบบที่ยากเกินไปและพยายามทดสอบตัวเองเกี่ยวกับทุกๆเนื้อหาในหนังสือ สิ่งนี้จะทำให้การอ่านกลายเป็นงานที่น่าเบื่อและท้ายที่สุดก็ไม่ช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านใช้กลยุทธ์ดังกล่าวอีกต่อไป

ขั้นแรก – อย่าโถมใส่ตัวเองมากเกินไป การพยายามจำข้อมูลจากหนังสือที่อ่านให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ จะทำให้กระบวนการอ่านน่าเบื่อ จนอาจทำให้คุณหมดรักในการอ่าน การตั้งหนึ่งคำถามต่อหนึ่งบทก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับหนังสือส่วนใหญ่ หากเป็นหนังสือยอดนิยม การตั้งคำถามสักสิบกว่าข้อ อาจจะเพียงพอที่จะจับประเด็นสำคัญและสมมติฐานหลัก

ขั้นที่สอง – ใส่หมายเลขหน้า ซึ่งมีคำตอบอ้างอิง กรณีที่คุณลืมบางประเด็น คุณจะรู้ว่าจะหาคำตอบได้จากที่ไหน  การรู้ว่าคำตอบของประเด็นหลักอยู่ที่หน้า 36 จะช่วยให้คุณประคับประคองสติได้

ขั้นที่สาม – ใช้เทคโนโลยีให้ง่ายขึ้น สำหรับหนังสือแบบเป็นเล่ม คุณควรใช้กระดาษโน้ตเล็กๆ เนื่องจากคุณสามารถใช้เขียนคำถามทุกข้อได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง นอกจากนี้ มันยังใช้เป็นที่คั่นหน้าหนังสือในตัวด้วย ดังนั้น คุณจะได้ไม่ต้องมัวค้นหาบันทึกย่อในภายหลัง หากคุณอ่านจาก Kindle ให้ตั้งคำถามของคุณเป็นคำอธิบายประกอบในหนังสือ จากนั้น คุณก็จะสามารถดูคำอธิบายประกอบในภายหลัง เพื่อนำมาตั้งคำถามให้กับตัวเองได้

การฝึกเรียนรู้อย่างมีมิติและหมั่นระลึกถึงสิ่งที่เพิ่งเรียนรู้มา สามารถช่วยแก้ปัญหาการลืมสิ่งที่คุณเรียนรู้

Share
.