เคยเจอคำนี้กันบ้างไหม หรืออาจอยู่ในรูปสะกด passers-by แบบที่มี hyphen คั่น ที่แปลว่า ผู้ที่เดินผ่านไปผ่านมา เป็นรูปพหูพจน์ของ passerby (passer-by) ที่มาจากคำกริยาวลี to pass by ที่แปลว่าเดินผ่านไปมาของคน (หรือการผ่านไปของสิ่งของวัตถุ) ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษแทนที่จะเป็น passerbys (ซึ่งเป็นรูปที่สะกดผิด)
ทั้งนี้เป็นการเติม s ให้แสดงความเป็นพหูพจน์ ตรง passer ที่เป็นรูปคำนามแสดงการเป็นผู้กระทำ แทนที่จะมาเติมตรง by ซึ่งเป็นคำบุพบทประกอบจากสำนวนกริยาวลีที่เป็นคำตั้งต้น เริ่มแรกก็มีการเขียนให้แยกคำโดยมีขีดคั่นกลาง passers-by เพื่อจะได้สังเกตและเข้าใจที่มา แต่ภายหลังก็มีการเลือนขีดนี้ออกไป
ยังมีคำอื่นๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ซึ่งพอจะแยกได้ 3 กลุ่มด้วยกัน ตัวอย่างเช่น (สังเกตได้ว่า ไม่ใช่ทุกคำที่สื่อถึงความเป็นบุคคล)
• กลุ่มที่มีคำ general อยู่ส่วนหลัง ซึ่งเป็นคำแสดงตำแหน่งในเชิงว่ามีสถานะใหญ่สูงสุด หรือสำคัญมากขององค์กร : attorneys-general (อัยการสูงสุด), consulates-general (สถานกงศุลใหญ่), directors-general (อธิบดี/เจ้ากรม), secretaries-general (เลขาธิการใหญ่)
• กลุ่มที่มีวลี -in-law อยู่ส่วนหลัง ซึ่งเป็นคำที่รู้จักกันดีว่าแสดงฐานะเครือข่ายว่าเป็นเขยหรือสะใภ้ของครอบครัว: fathers/mothers/sisters/brothers/sons/daughters-in-law
• กลุ่มคำอื่นๆ : courts-martial (ศาลทหาร), hangers-on (คนที่คอยตามคนที่ตำแหน่งสำคัญหรือมีฐานะและคอยประจบสอพลอเพื่อหวังประโยชน์), ladies-in-waiting (นางสนองพระโอษฐ์), lookers-on (ผู้สังเกตุการณ์อย่างไม่มีส่วนรวม)
ตัวอย่าง :
• The dog seems to enjoy watching the passersby.
• Among all my in-laws, I’m most familiar with my sisters-in-law.
• In this case, not all of the accused will share the same court; there will be several courts-martial.