นิยามของ คำนาม ภาค 2

1669

ในบทก่อนหน้านี้ ครูได้เปรียบเทียบให้เห็นภาพแล้วว่า….

คำนาม ก็เปรียบเสมือนผู้เล่นฟุตบอลในสนาม (แห่งภาษาอังกฤษ) ซึ่งมีคุณสมบัติอันหลากหลายคล้ายกันทุกคน แต่ก็ยังมีการแบ่งประเภทผู้เล่นแต่ละคนตามคุณลักษณะหรือตำแหน่งที่พวกเขาเล่นกัน 

.

ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทที่แล้ว หรืออ่านแล้วลืม ก็คลิ๊กกลับไปอ่านทบทวนอีกรอบได้ครับ
…ไม่เป็นไรครับ ครูไม่โกรธ…คริ คริ



ในบทนี้ ก่อนที่จะเริ่มไปทำความรู้จักกับผู้เล่น (คำนาม) แต่ละประเภท ลองขุดคุ้ยความทรงจำดูก่อนว่า เท่าที่พี่ๆน้องๆจำได้ในสมัยเรียนนั้น ‘คำนามมีประเภทใดบ้าง?‘ 
.
.
.
.

พอจะนึกถึงประเภทของคำนามขึ้นมาสักหนึ่งประเภท ตอนนี้เลยได้ไหมครับ? 

ถ้านึกไม่ออก ก็ไม่เป็นไร แต่ครูและคณะฯทีมงาน ต่างก็ลงมติเป็นเอกฉันท์แล้วว่า เราจะเน้นถ่ายทอดเรื่องของคำนามกันเพียง 3-4 ประเภทเท่านั้น ซึ่งก็เพียงพอที่จะช่วยให้พี่ๆน้องๆสอบผ่านหรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้แล้ว! 
.
.
.
.

ส่วนคำนามประเภทอื่นๆที่เหลือนั้น เป็นเพียงน้ำๆ (ไม่ใช่เนื้อ) และหากเรารู้คำศัพท์มากพอประมาณ ก็ไม่จำเป็นต้องไปจดจำลักษณะของคำนามประเภทอื่นๆ เนื่องจากคำนามที่เรามักจะได้อ่านหรือได้ยินกันทั่วไป มันจะบ่งบอกประเภทในตัวมันเองอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น
คำนามประเภท ‘Compound Noun’ ซึ่งตำราไทยเอามาแปลว่า นามผสม (ที่จริงเขาใช้คำว่า ‘นามประสม’ ด้วยซ้ำ ฟังดูแล้วเวิ่นเว้อใช่ไหมล่ะครับ?) ก็เป็นคำนามที่เกิดจากการเอานาม 2 คำมาผสมกัน

เช่น Classroom ซึ่งแปลว่า ห้องเรียน (class + room) และคำว่า football ซึ่งแปลตรงตัวว่า ฟุตบอล (foot + ball) เป็นต้น
.
.
.

เอาเป็นว่า ประเภทของคำนามที่ครูจะเน้นสอนเป็นพิเศษ ก็คือ…..แต่น แตน แต๊น…..

นามนับไม่ได้

บ่อยครั้งภาษาอังกฤษต้องมีการพูดถึงเกี่ยวกับคำนามที่นับไม่ได้ เพราะประเทศยุโรปอเมริกา ฝรั่งเค้าไม่ได้มีแต่แมวหมา หรือว่าแอ๊ปเปิ้ล เท่านั้น บ้านเค้ายังมีผลิตภัณฑ์หรือสิ่งของอื่นๆด้วย เช่น น้ำตาล, น้ำดื่ม, กาแฟ, ทราย, อากาศ ฯลฯ ซึ่งต่างก็นับไม่ได้ด้วยกันทั้งสิ้น

ปล. สำหรับพวกฝรั่งแล้ว เงินหรือ Money ก็ถือเป็นนามที่นับไม่ได้เหมือนกันนะคร๊าบ

คำนามประเภทที่นับไม่ได้ (เรียกว่า ‘Mass Noun’ หรือ ‘Uncountable Noun ก็ได้) เช่น 

คำว่า Rice (ข้าว) 

หากเรารู้คำแปล เราก็จะรู้อยู่แล้วว่ามันเป็น Mass Noun เพราะเรานับจำนวนเมล็ดข้าวไม่ได้อยู่แล้ว (หมายถึงกรณีทั่วๆไปนะครับ เพราะใครจะบ้ามานั่งนับเมล็ดข้าวทีละเม็ด) 

ดังนั้น เวลาที่เราจะพูดถึงนามที่นับไม่ได้ ก็ต้องใช้คำอื่นมาช่วยบรรจุใส่หีบห่อหรือช่วยบอกหน่วย/จำนวน/ปริมาณ

ห่อให้ด้วย เอ้า…..ห่อให้ด้วย!!!

ตัวอย่างเช่น 

A rice หรือ A sugar ——— แบบนี้ผิด! 

……เพราะที่ถูกต้อง เราต้องทำให้มันนับได้ก่อน เช่น นำมันไปใส่ ‘ถุง’ (ถุงอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ถุงยางอนามัย)

ในที่นี้ เราก็ต้องเอาคำว่า ถุง มาช่วย แล้วตามด้วยคำว่า of เช่น

A bag of sugar น้ำตาลหนึ่งถุง แบบนี้แล้ว จึงจะถือว่า ”ถะ..ถะ…ถูกต้องนะคร๊าบบบบ

A coffee อย่างงี้ก็ไม่ได้ —– เพราะที่ถูกต้อง เราต้องใส่ถ้วยให้มันด้วย

A cup of coffee กาแฟหนึ่งถ้วย —- ฟังดูสวยหรู มีสกุลรุนชาติกว่ากันเยอะ แถมถูกต้องตามหลักไวยากรณ์หรือหลักแกรมมาร์อีกด้วย
.
.
.
.

เอาล่ะ…ส่วนคำนามอื่นๆ เช่น ทราย ขนมเค้ก เงิน ฯลฯ หรืออะไรก็ตามแต่ น้องๆก็ต้องหมั่นท่องศัพท์หรืออ่านภาษาอังกฤษทั่วๆไปอย่างสม่ำเสมอ เพราะเราไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ว่า สิ่งของหรือคำนามหนึ่งๆ ต้องใส่หีบห่อหรือระบุปริมาณแบบใด

ส่วนใหญ่จะต้องอาศัยคอมม่อนเซ้นส์ (สามัญสำนึก) บวกกับความรู้ในคำศัพท์ทั่วไป

ตัวอย่างเช่น:

ทรายก็อาจจะใส่ถุงได้เช่นกัน เป็น A bag of sand

เงินก็ใส่ปริมาณเข้าไป เป็น A lot of money เงินจำนวนมาก 

ขนมเค้ก ก็อาจจะเรียกเป็นชิ้นๆได้ เช่น A piece of cake ขนมเค้กหนึ่งชิ้น หรือ Three piece(s) of cake ขนมเค้ก 3 ชิ้น เป็นต้น
.
.
.
.
นอกจากนี้ ยังมีคำนำหน้านามที่ใช้บอกความมากน้อยอีกด้วยนะครับ เช่น a bit of, agreat deal of, a little of, much of, most of ซึ่งหากต้องการกะประมาณเอา ก็ใช้ some/any เป็นคำนำหน้านามไปเลย

เช่น I want some sugar.

หรือ I want a little amount of sauce.

เห็นไหมครับ ขอแค่เราหมั่นท่องจำให้รู้คำแปลของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็เกินพอแล้วที่จะรู้ประเภทของคำนามและใช้มันได้อย่างถูกต้องโดยอัตโนมัติ


*สำหรับใครที่กำลังมองหาคอร์สเรียนออนไลน์ สามารถกดปุ่ม inbox มุมขวาล่าง ทักสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะครับ*








คำถามทดสอบ:

1) ข้อใดเป็นคำนามผสม

a. Everest            
b.  Soccer            
c. Waffle         
d.  Girlfriend

2) ข้อให้เป็นคำนามที่นับไม่ได้

a. Airplane           
b.  Air-conditioner       
c.  Air        
d. Air hostess 

3) วลีต่อไปนี้ ควรเติมคำในข้อใด
  A _______ of beer.

a.  many          
b.   some       
c.  piece         
d.  bottle

เฉลย

1. (ข้อ d.) เพราะเกิดจากคำว่า girl + friend แต่เขียนติดกันครับ

2. (ข้อ c.) เพราะเรานับอากาศไม่ได้แน่นอนครับ

3. (ข้อ d.) เพราะเบียร์ควรจะบรรจุใส่ขวดหรือพาชนะใดๆก็ตาม และหากจะบอกปริมาณเบียร์ ก็สามารถใช้คำว่า A lot of ได้ครับ แต่ไม่ใช่ A many of หรือ A some of

Share
.